กิจกรรมสร้างการรับรู้ และความเข้าใจอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ หรือ Kalasin Geopark รุ่นที่ 1
26 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้ และความเข้าใจอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ หรือ Kalasin Geopark พร้อมด้วยผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกิจกรรม การจัดงานเพื่อให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในเขตพื้นที่อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องที่มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ได้เข้าใจบทบาท หน้าที่ของการเป็นอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ โดยภูน้อยอำเภอคำม่วง เป็นแหล่งฟอสซิลสัตว์ที่มีกระดูสันหลัง ที่มีจำนวนมากที่สุด และหลากหลายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไดโนเสาร์ จระเข้ เต่า ปลา ฉลามน้ำจืด สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก และเทอโรซอร์ อายุราว 150 ล้านปี ปัจจุบันพบซากดึกดำบรรพ์ 7 สายพันธุ์ใหม่ของโลก จนได้รับฉายาว่า “จูแรสซิกพาร์คเมืองไทย” และล่าสุด “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส" ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก ถือเป็นตัวที่ 13 ของไทย ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มกระดูกเชิงกรานแบบนกหรือออร์นิธิสเชียน (Ornithischia) พบในหมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสสิกตอนปลาย มีอายุประมาณ 150 ล้านปี